วัสดุยาแนวรอยต่อและอุดรอยต่อ ชนิดโพลียูรีเทน PU Sealant
วัสดุยาแนวรอยต่อและอุดรอยต่อ ชนิดโพลียูรีเทน PU Sealant
วัสดุยาแนวรอยต่อ โพลียูรีเทน ซีลแลนท์ หรือ PU (Polyurethane) Sealant คือ วัสดุโพลียูรีเทนที่ถูกนำมาใช้ในงาน อุดรอยรั่ว รอยต่อ หรือประสานชิ้นงานเพื่อป้องกันรอยรั่ว หรือ เชื่อมต่อให้เกิดความแข็งแรงมากขึ้น ซึ่งมีหลากหลายยี่ห้อและราคาในท้องตลาด ท่านสามารถเลือกใช้ ให้เหมาะสมกับงานได้
วัสดุยาแนวรอยต่อ PU Sealant เหมาะกับการใช้กับรอยต่อวัสดุ (Construction Joint) หรือใช้ป้องกัน/แก้ไขการรั่วซึมในการก่อสร้าง มียี่ห้อที่เข้ามาทำตลาดยาวนานได้รับความนิยมในหมู่ช่างก็คือ NP1, Sika และ Sista เป็นต้น แต่ในปัจจุบันมีหลายยี่ห้อเริ่มเข้ามาทำตลาดในกลุ่มนี้ โดยมียี่ห้อใหม่อาทิ Lanko, จระเข้, 3M และ TOA ที่มีคุณภาพเป้นที่ยอมรับกัน โดยจะแตกต่างกันในด้านราคาและคุณสมบัติบางประการจึงต้องเลือกให้เหมาะสมกับงาน
คุณภาพงานจะประกอบด้วยวัสดุที่มีคุณภาพ การใช้งานที่ถูกต้อง พบเสมอว่าทำไมใช้ประเภทนี้แล้วปัญหาจึงไม่หายขาด เราพบว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่วัสดุ แต่มักจะพบว่ามีการเตรียมพื้นผิวไม่สะอาดพอ (แห้งสนิทปราศจากฝุ่นผง หรือไปใช้ชิ้นงานที่ไม่ยึดเกาะกับโครงสร้างแล้ว เป็นต้น) โดยเฉพาะการใช้งานภายนอก PU Sealant มีความคงทนต่อแสง UV ในระดับปานกลาง จึงควรมีวัสดุปิดทับด้วย เช่น บุกระเบื้อง หรือทาสี มิฉะนั้นอายุการใช้งานจะอยู่ได้ไม่นานเท่าที่ควร (~ 2-5 ปี)
คุณสมบัติที่สำคัญในการเลือกใช้งาน PU (Polyurethane) Sealant
- ความแข็งแรง การเลือกใช้งานต้องดูด้วยว่าลักษณะงานต้องการความแข็งแรงหรือไม่หากเลือกใช้ไม่ถูกต้องอาจส่งผลต่อความปลอดภัยความเสียหายอาจเกิดขึ้นได้จากการใช้งาน
- ความต้านทานรังสียูวี UV สำหรับงานที่ต้องโดนแสงยูวีอยู่ตลอดเวลาจะทำให้อายุการใช้งาน โพลียูรีเทน ซีลแลนท์ สั้นลง มากจึงต้องเลือกตัวที่มีสารต้านทานยูวีทนยูวีมากๆ
- กลิ่น สารระเหย เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้ใช้งานบางสถานที่ที่อากาศถ่ายเทไม่ดี ไม่มีกลิ่นสาระระเหยจึงต้องเลือกตัวที่มีสารละเหยต่ำมาใช้งาน
- การแกะถอดชิ้นงาน การถอดประกอบหรือบำรุงรักษา มีความจำเป็นหรือไม่ถ้ามีก็ต้องเลือกตัวที่ถอดประกอบได้ดีกว่าติดตายตัว
- พื้นที่การใช้งาน บนบก ในน้ำหรือกลางแจ้งเลือกใช้ให้เหมาะสม
- วัสดุที่ต้องการประสานหรือเชื่อมต่อ บริเวณที่ใช้งานในการประสามวัสดึชุต่างชนิดกัน หรือวัสดุบางชนิดจะมีตัว Sealant ที่ทำมาโดยเฉพาะให้เหมาะสม
- อายุการใช้งานที่ต้องการ อายุงานที่ต้องการใช้ เลือกใ้เหมาะสม ถ้าต้องการความทนทานก้ใช้ตัวที่ทนหน่อยหรือใช้งานระยะสั้นก็ไม่จำเป้นต้องเลือกตัวที่ดีเพราะส่งผลถึงค่าใช้จ่าย
- การรับแรง ต้องดูการรับแรงว่ามาจากแนวไหน แรงกด แรงดึง หรือต้องการอุดรอยเฉยๆไม่ต้องรับแรง หรือต้องการตัวที่แข็งแรงมากๆ ต้องทำให้เหมาะสม
- ทาสี ต้องการทาสีทับได้ทันทีไหมหรือไม่จำเป้นไหม
- ใช้งานได้ง่าย ไม่ไหลย้อยติดมือ