วัสดุอุดรอยต่อ
Seallant บทความ เรื่องทั่วไป

วัสดุอุดรอยต่อคืออะไร

 

วัสดุอุดรอยต่อ

วัสดุอุดรอยต่อ หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “Sealant” หมายถึง
วัสดุที่ใช้ในการปิดรอยต่อระหว่างวัสดุไม่ว่าจะเป็นวัสดุชนิด
เดียวกันหรือไม่ก็ตาม เพื่อความเรียบร้อยสวยงามและป้องกันสิ่งต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นเศษฝุ่นละออง น้ำ ก๊าซผ่านเข้าระหว่างรอยต่อนี้ได้ หรืออาจ
เรียกว่าเป็น “กาว” ประเภทหนึ่งก็ได้ เพราะอีกนัยหนึ่งก็เป็นการเชื่อม
ประสานวัสดุเข้าด้วยกัน วัสดุที่ใช้อุดรอยต่อนี้จึงมีคุณสมบัติเป็นของ
กึ่งเหลวเพื่อสามารถเข้าไปแทรกบริเวณรอยต่อได้ แล้วจึงแข็งตัวและ
มีลักษณะยืดหยุ่นให้ตัวได้เพื่อให้วัสดุตั้งแต่ 2 ชนิดที่มาจบกันนี้มีโอกาส
ขยับตัวได้ประมาณหนึ่ง โดยที่วัสดุอุดรอยต่อนี้ไม่แตกร้าว

วัสดุอุดรอยต่อคืออะไร

ในงานก่อสร้างนั้นต้องใช้วัสดุอุดรอยต่อทั้งในงานโครงสร้าง
เช่น งานรอยต่อระหว่างโครงสร้างที่วิศวกรได้ตั้งใจกำหนดไว้ เพื่อให้
สอดคล้องกับพฤติกรรมของโครงสร้างที่ได้ออกแบบเอาไว้ (Construction
Joint) หรือเป็นรอยต่อระหว่างโครงสร้างสำหรับโครงสร้างที่ม

ลักษณะยาวต่อเนื่องจะต้องมีรอยต่อเพื่อรองรับการยืดหดขยายตัวของ
วัสดุโครงสร้าง (Expansion Joint) และในงานสถาปัตย์ก็ใช้วัสดุอุดรอย
ต่อนี้กันมากมายในการอุดปิดรอยต่อในการจบงาน เช่น รอยต่อระหว่าง
บานประตู-หน้าต่างอลูมิเนียมกับผนังก่ออิฐฉาบปูน รอยต่อระหว่างฝ้า
เพดานกับผนัง รอยต่อของงานเฟอร์นิเจอร์บิวท์อิน ฯลฯ จะเห็นได้ว่า

วัสดุอุดรอยต่อในงานก่อสร้างของเรามากมาย

3M PU adhesive sealant

วัสดุอุดรอยต่อที่ใช้งานกันแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ

อะคริลิก (Acrylic sealant) เป็นวัสดุอุดรอยต่อที่ทำมาจาก
วัสดุโพลิเมอร์กลุ่มไฮโดรคาร์บอน (คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน) ใช้
น้ำเป็นตัวทำละลาย (Water based) แต่เมื่อแข็งตัวแล้วจะไม่ละลายน้ำ
ถ้าอธิบายให้เห็นภาพและเข้าใจง่ายขึ้นอะคริลิกก็เป็นเหมือนแป้งกาว
latex ผสมน้ำนั่นเอง ช่างมักจะเรียกว่าแด๊ป (DAP) ซึ่งมีที่มาจากยี่ห้อ
อะคริลิกอุดรอยต่อชื่อดังที่เข้ามาทำการตลาดในยุคแรกๆ ที่นำอะคริลิ
กอุดรอยต่อมาใช้งาน ทำให้ช่างเรียกวัสดุประเภทนี้ตามชื่อยี่ห้อไปเลย
คุณสมบัติของอะคริลิก คือ มีความยืดหยุ่นน้อย มีความคงทน
ต่อสภาพแวดล้อมได้ตำ่ จึงเหมาะกับงานอุดรอยต่อเพื่อความสวยงาม
ในงานภายใน แต่จุดเด่นของอะคริลิก คือ สามารถขัดแต่งผิวงานได้และ
ทาสีทับได้ สามารถใช้กับวัสดุทั้งผิวเรียบและผิวขรุขระและมีราคาไม่แพง
(ราคาประมาณ 20-30 บาท ต่อ 300 ml*) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น อะคริลิกที่ขาย
ตามท้องตลาดนั้นมีหลายระดับหลายราคามาก ตั้งแต่มีความยืดหยุ่น
น้อยไปจนถึงมากซึ่งเกิดจากสารผสมเพิ่มเพื่อเพิ่มคุณสมบัติต่างๆ เข้าไป
เช่น เพิ่มความยืดหยุ่น สารป้องกันเชื้อรา ทนต่อรังสี UV และสภาพ
แวดล้อมภายนอก ซึ่งแน่นอนว่าราคาก็จะแพงกว่าระดับใช้งานทั่วไป
มีหลากหลายสีให้เลือกใช้ มีบรรจุภัณฑ์เป็นหลอดทรงกระบอกปลาย
เป็นกรวยปลายแหลมสำหรับใช้งานในบริเวณรอยต่อแคบๆ

 

โพลียูริเทน (Polyurethane) มักเรียกกันสั้นๆ ว่าพียู (PU)
เป็นวัสดุประเภทพลาสติกเทอร์โมเซต คือ ไม่สามารถหลอมเหลวขึ้น
รูปใหม่ได้ ถูกผลิตขึ้นเพื่อใช้ทดแทนยางธรรมชาติใช้นำ้มันเป็นตัวทำ
ละลายเป็นสารประกอบอินทรีย์ (Organic Based) เมื่อนำไปเผาไฟจะมี
ควันดำ โพลียูริเทนที่นำมาใช้ในงานอุดรอยต่อจะเป็นประเภทโฟมยืดหยุ่น
บรรจุอยู่ในหลอด

คุณสมบัติของโพลียูริเทน คือ มีความยืดหยุ่นปานกลาง มีความ
คงทนต่อสภาพแวดล้อมได้ปานกลาง สามารถขัดแต่งผิวงานและทาสี
ทับได้ สามารถใช้กับวัสดุทั้งผิวเรียบและผิวขรุขระ สามารถยึดติดกับผิวที่
มีฝุ่นเกาะได้ ราคาแพงกว่าอะคริลิคอยู่พอสมควร ด้วยเหตุที่โพลิยูริเทน
มีคุณสมบัติโดดเด่นตรงที่สามารถใช้งานบริเวณผิวที่มีฝุ่นเกาะได้ดี เช่น
ผิวคอนกรีตและยังสามารถทาสีทับได้ จึงเหมาะกับงานอุดรอยต่อ
precast concrete ภายนอก แต่ก็มีจุดอ่อนตรงที่มีความคงทนต่อรังสี
UV ในระดับปานกลาง ซึ่งหากใช้งานบริเวณภายนอกจะต้องตรวจสอบ
ว่าโพลิยูริเทนเสื่อมสภาพหรือไม่ อย่างน้อยก็ทุกๆ 3-5 ปี มีหลากหลาย
สีให้เลือกใช้ ราคาแพงกว่าอะคริลิคแต่ถูกกว่าซิลิโคน (ประมาณ 160-
200 บาท ต่อ 600 ml*) ที่นำมาขายในบ้านเรามักจะใช้บรรจุภัณฑ์เป็น
แผ่นฟอยด์หุ้มขนาด 600 ml ดูคล้ายๆ ไส้กรอก ช่างจึงมักเรียก PU ว่า
“ไส้กรอก”
ไส้กรอก 3M 560 พียู ซีลแลนท์ 3M Polyurethane Adhesive Sealant 560

ซิลิโคน (Silicone sealant) เป็นวัสดุอุดรอยต่อที่ทำมาจาก
วัสดุโพลิเมอร์ มีองค์ประกอบหลัก คือ ซิลิกอน คาร์บอน ไฮโดรเจน
ออกซิเจน) เป็นสารประกอบอนินทรีย์ (Inorrganic Based) มีลักษณะ
เป็นของกึ่งเหลวมีความยืดหยุ่นสูง คนทั่วไปจึงมักสรุปเรียกวัสดุอุดรอย
ต่อทั้ง 3 ประเภทว่าซิลิโคน เป็นเพราะคุณสมบัติของมันที่สามารถนำไป
ใช้งานได้หลากหลายเรียกได้ว่าสารพัดประโยชน์จนคนทั่วไปเข้าใจผิด

คุณสมบัติของซิลิโคน คือ มีความยืดหยุ่นสูงและคงทนต่อรังสี
UV ได้ดี แต่จุดที่แตกต่างกับอะคริลิกและโพลียูริเทนอย่างชัดเจน คือ ไม่
สามารถทาสีทับได้ ด้วยความที่มีคุณสมบัติอื่นๆ ที่สำคัญสูงกว่าอะคริลิก
และโพลิยูริเทน ซิลิโคนจึงถูกเลือกใช้ในงานที่ต้องการความคงทนต่อ
สภาพแวดล้อมมากกว่า แต่ซิลิโคนมีจุดอ่อน คือ ไม่เหมาะกับการติดตั้ง
บริเวณผิววัสดุที่มีฝุ่นเกาะ เพราะจะทำให้ซิลิโคนไม่ทำหน้าที่ประสาน
ระหว่างวัสดุตัวจบแต่จะไปจับกับฝุ่นแทน ทำให้ไม่สามารถยึดเกาะกับ
ผิววัสดุได้ จุดอ่อนอีกข้อที่สำคัญ คือ วัสดุบางประเภทที่มีปฏิกิริยากับ
กรดก็จะไม่สามารถใช้งานกับซิลิโคนที่มีฤทธิ์เป็นกรดได้เพราะจะไป กัดกร่อนผิววัสดุ เช่น หิน เหล็ก อลูมิเนียม ฯลฯ

ซิลิโคนมีหลายสีให้เลือกใช้เช่นเดียวกันกับวัสดุอุดรอยต่ออื่น
แต่ราคาขายจะแพงที่สุดในวัสดุอุดรอยต่อทั้ง 3 กลุ่ม (ประมาณ 130
บาท ต่อ 300 ml*) ระดับราคาของซิลิโคนก็ค่อนข้างหลากหลายขึ้นอยู่
กับว่าจะผสมสารเพิ่มประสิทธิภาพในการยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพ
ป้องกันเชื้อราเพิ่มขึ้นหรือไม่ ราคาก็จะสูงขึ้นตามคุณสมบัติที่สูงขึ้น บรรจุ
ภัณฑ์ที่ใช้จะมีทั้งหลอดทรงกระบอกเหมือนอะคริลิคและฟอยด์เหมือน

 

PU ซิลิโคนที่ใช้อุดรอยต่อนี้แบ่งเป็น 2 ประเภท  

  1. ประเภทมีกรด (Acetic cure) ซิลิโคนประเภทนี้เมื่อใช้งาน
    จะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวของกรดระเหยออกมา แห้งเร็ว เหมาะกับการใช้
    งานในการอุดรอยต่อระหว่างกระจกกับกระจก มีแรงยึดเกาะที่แข็งแรง
    กรณีใช้ประเภทใสจะมีความใสเนียนไปกับกระจกใสและไม่เหมาะกับ
    พื้นผิวที่มีผลกระทบจากกรดกัดกร่อนเช่นโลหะ หรือหินอ่อน มีราคาตำ่
    กว่าประเภทไร้กรด
  2. ประเภทไร้กรด (Neutral cure) ซิลิโคนประเภทนี้จะมีฤทธิ์
    เป็นกลาง ประเภทใสจะมีความใสน้อยกว่าประเภทมีกรด (จะออกใส
    ขุ่น) แห้งช้ากว่า มีความแข็งแรงน้อยกว่า แต่มีความยืดหยุ่นมากกว่า
    ใช้ในกรณีที่ผิววัสดุไม่เหมาะกับการสัมผัสกับกรด มีราคาแพงกว่า
    ประเภทมีกรด
    รูปภาพแสดงรายละเอียดที่แตกต่างกันบนฉลากของซิลิโคนประเภทไร้กรด
    และมีกรด

ซิลิโคนกับงานคอนกรีต precast
แม้ว่าซิลิโคนจะมีคุณสมบัติป้องกันรังสี UV ได้ดีกว่าโพลียูริเทน
น่าจะเหมาะกับงานที่ใช้ภายนอก แต่ก็มีจุดอ่อนคือ ไม่เหมาะกับผิวที่มี
ฝุ่นเกาะ เช่น ผิวปูน ผิวคอนกรีต เพราะตัวซิลิโคนจะไม่จับกับผิววัสดุแต่
จะไปจับกับฝุ่นแทนทำให้ไม่มีแรงยึดเกาะ หากจะนำซิลิโคนมาใช้งาน
ประเภทนี้ก็ต้องทำความสะอาดพื้นผิวให้ปราศจากฝุ่นและต้องทานำ้ยา
เคลือบผิวอีกชั้นเพื่อเพิ่มแรงยึดเกาะด้วย ซึ่งมีความยุ่งยากในการใช้งาน
และค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น นี่ยังไม่นับประเด็นไม่สามารถทาสีทับได้อีก (ทาสี
ไม่ติด) จึงไม่นิยมนำซิลิโคนมาใช้งานกับงานผิวรอยต่อ precast

 

Related posts